การดำเนินโครงการ เป็นระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2549-2550 )
เพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 เตรียมย้ายสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติซึ่งใช้หอสมุดพระพุทธศาสนาเป็นอาคารชั่วคราว
ออกไปใช้อาคารอื่นภายในปี พ.ศ. 2549
1.2 จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการออกแบบระบบ
Knowledge Portal site และ E-Library เพื่อจัดเตรียมห้องสมุดในรูปของ
Hybrid Library ที่จัดเก็บสารสนเทศทั้งในรูปของ Hard copy และ digital
form
2. ขั้นดำเนินโครงการ
2.1 ปรับปรุงอาคาร อาคารหอพระสมุดพระพุทธศาสนา ทั้งการจัด Collection
ของสารสนเทศทางพระพุทธศาสนา และการตกแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับการเป็น หอพระสมุดพระพุทธศาสนานานาชาติ
2.2 ปรับปรุง Landscape รอบอาคารหอพระสมุดพระพุทธศาสนานานาชาติ พร้อมสถานที่จอดรถ
2.3 จัดหารวบรวมสารสนเทศเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
ในเริ่มแรกเน้นการรวบรวมสารสนเทศทั้งศาสนบุคคล ศาสนธรรม ศาสนสถาน ศาสนาสัตถุและศาสนพิธีในประเทศไทย
และสร้างเครือข่ายในการรวบรวมสารสนเทศ ในประเทศต่างๆทั่วโลก
2.4 นำเสนอสารสนเทศในรูปอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปของ
Buddhist Knowledge Portal site เพื่อเป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่สารสนเทศเกี่ยวกับ
พระพุทธศาสนาที่เผยแพร่ เป็นภาษาต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ any
time และ any where
2.5 การสร้างเครือข่ายสารสนเทศเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งในระดับประเทศ
ภูมิภาคและนานาชาติ โดยจัดสัมมนาเครือข่ายทางพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง
3. ขั้นประเมินโครงการ
ประเมินความสำเร็จในการจัดตั้งหอพระสมุดพระพุทธศาสนานานาชาติ ที่พร้อมจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี
พ.ศ. 2550 |
งบประมาณ
1.1 งบก่อสร้างอาคารสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อย้ายหน่วยงานที่ใช้ที่อาคารหอพระสมุด
พระพุทธศาสนานานาชาติ ราคา 300 ล้านบาท
1.2 สร้างอาคารที่พักผู้ทรงคุณวุฒิที่มาช่วยในการวิเคราะห์ สังเคราะห?ตรวจทาน
แปลสารสนเทศ ทางพระพุทธศาสนาก่อนเผยแพร่ ราคา 50 ล้านบาท
1.3 ปรับปรุงสภาพอาคารและตกแต่งภายในอาคารหอพระสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ
100 ล้านบาท
1.4 ปรับปรุง Landscape 5 ล้านบาท
1.5 งบจัดหาและผลิตสารสนเทศทางพระพุทธศาสนาปีละ 50 ล้าน เป็นงบประจำทุกปี
|
เป้าหมายของโครงการ
1. ประเทศไทยเป็นผู้นำองค์กรทางพระพุทธศาสนาของโลก
2. ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางสารสนเทศและเครือข่ายสารสนเทศทางพระพุทธศาสนาของโลก
โดยเป็นศูนย์กลางความรู้ และการเรียนรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปของ
Portal site โดยมีประเทศไทยเป็นผู้นำเครือข่ายร่วมกับองค์กร และมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาของโลก
3. ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของการค้นคว้าวิจัยทางพระพุทธศาสนาของโลก
4. เป็นแหล่งผลิตและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นภาษาต่างๆ
ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มารถเข้าถึงสารสนเทศ ทางพระพุทธศาสนาทางพระพุทธศาสนาได้ทั่วโลกในทุกเวลา
5. เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมกิจกรรมทางพุทธศาสนาของโลกในทุกรูปแบบ
|
วิสัยทัศน์
หอสมุดพระพุทธศาสนานานาชาติ:มหาสิรินาถ
ประตูสู่ความรู้แจ้งและสันติภาพของโลก (Gateway to Enlightenment and
World Peace) |
พันธกิจ
หอสมุดพระพุทธศาสนานานาชาติ:มหาสิรินาถ
เป็นศูนย์กลางความรู้ด้านพระพุทธศาสนาแห่งโลก ทั้งทางด้านการผลิต การแลกเปลี่ยน
การเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นประตูสู่ความรู้แจ้งและสันติภาพของโลก
|
<<กลับไป |